วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วรรณคดีไทย

 


ประเภทของวรรณคดี
    การจำแนกประเภทของวรรณคดีออกเป็นประเภทต่าง ๆ ใช้เกณฑ์การจำแนก คือ  จำแนกตามจุดมุ่งหมาย  รูปแบบการประพันธ์  รูปแบบทั่วไป หรือจำแนกตามแนวคิดและเนื้อหาของวรรณคดี  ดังนี้
จำแนกตามจุดมุ่งหมาย
    จุดมุ่งหมายของการแต่งอาจแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ  ๒ ประเภท คือ
        ๑. สารคดี  (non - fiction) ได้แก่วรรณคดีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความรู้  หรือเป็นศาสตร์ เช่น  ปฐมโพธิกถา  พระราชพิธีสืบสองเดือน
        ๒. บันเทิงคดี (fiction)  ได้แก่วรรณคดีที่มุ่งหมายให้ผู้อ่านมีความเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์และจินตนาการคล้อยตามไปด้วย  การเขียนอย่างมีศิลปะ  ไพเราะรื่นหู มีความสมดุลและมีเอกภาพ มีแบบแผนและได้รับความนิยมปฏิบัติตาม  เช่น  เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน  บทละครเรื่องอิเหนา
จำแนกตามรูปแบบการประพันธ์
    รูปแบบการประพันธ์ของการแต่งวรรณคดีไทย แบ่งได้เป็น ๒ รูปแบบ  คือ ร้อยกรอง และร้อยแก้ว
        ๑. ร้อยกรอง (prosody หรือ poetry) ได้แก่ข้อเขียนที่มีการจำกัดจำนวนคำ  พยางค์ ความยาว เสียงสูงต่ำหนักเบา เอกโท สัมผัสและจังหวะไว้อย่างแน่นอน วรรณคดีประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  กวีนิพนธ์
        ๒. ร้อยแก้ว (prose หรือ essay)  ได้แก่ข้อเขียนที่ไม่มีการกำหนดฉันทลักษณ์เหมือนร้อยกรอง  เป็นความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยแก้ว มี นวนิยาย  นิทาน  นิยาย  เรื่องสั้น  บันทึก  บทละครสมัยใหม่








จำแนกตามรูปแบบทั่วไป
    วรรณคดีอาจจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามรูปแบบที่มีผู้กำหนดขึ้นโดยทั่วไป ดังนี้
        ๑. วรรณกรรมวรรณา (narrative literature) หรือ มุขปาฐะ  (oral literature) ได้แก่  วรรณคดีที่ไม่มีตัวอักษร  แต่เล่าเรื่องต่อกันมาด้วยปาก
        ๒. เรื่องสั้น (short story)  ได้แก่ บันเทิงคดีพวกหนึ่งที่ประกอบด้วยลักษณะอันมีศิลปะ เช่น แสดงเรื่องของตัวละครอันตกอยู่ในสภาพแห่งความยากลำบาก หรืออยู่ในที่ขัดข้องอับจนแล้วต่อสู้หรือแก้ไขพฤติการณ์นั้นจนบรรลุผลที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่ง
        ๓. นวนิยาย (novel) ได้แก่เรื่องที่สมมติขึ้นหรือใช้จินตนาการสร้างสรรค์ขึ้น  โดยยึดหลักความสมจริงให้มากที่สุด
        ๔. บทละคร (Plays หรือ  drama) ได้แก่วรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อการแสดงประเภทเนื้อเรื่อง โดยกำหนดบทบาทของผู้แสดงให้สมจริง  มีทั้งละครร้อง ละครรำ ละครพูด ละครดึกดำบรรพ์  ละครพันทาง
        ๕. บทเรียงความ (essay) ได้แก่ วรรณคดีที่ผู้เขียนบรรยายถึงสิ่งที่คิดอย่างลึกซึ้ง  มักมีข้อเสนอเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตด้วย
        ๖. นิทาน (tales)  ได้แก่เรื่องเล่าที่ประดิษฐ์ขึ้น  โดยมิได้ตั้งใจจะให้ผู้ฟังเข้าใจว่าได้เกิดขึ้นจริง





   



จำแนกตามแนวคิดและเนื้อหา
    โดยอาศัยแนวคิดและเนื้อหาของวรรณคดีนั้น ๆ มาเป็นเกณฑ์  จำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
        ๑. วรรณคดีประวัติศาสตร์
        ๒. วรรณคดีศาสนา
        ๓. วรรณคดีสื่ออารมณ์ขัน
        ๔. วรรณคดีการเมือง
        ๕. วรรณคดีวิวิธ (เบ็ดเตล็ด)
        ๖. วรรณคดีคำสอน
        ๗. วรรณคดีมรดก
        ๘. เรื่องสั้นและนวนิยาย
        ๙. ปริวรรณคดี


วรรณคดีไทย



ที่มา   เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๔ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  พิมพ์ครั้งที่ ๔ , ๒๕๔๖.
         




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น