วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา







ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์ต่างกันทำให้ระดับเสียงต่างกันและคำก็มีความหมายต่างกันด้วย การที่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ คือ
ภาษาไทยขยายตัวทำให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น
ขาว ข่าว ข้าว เสือ เสื่อ เสื้อ

ภาษาไทยมีระดับเสียงสูงต่ำ ทำให้เกิดความไพเราะ ดังเห็นได้ชัดในบทร้อยกรอง
ภาษาไทยมีพยัญชนะที่มีพื้นเสียงต่างกัน เป็นอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ และมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เป็นเสียงสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา เป็น 5 ระดับเสียง ทำให้เลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง


การสร้างคำ คำไทยเป็นคำพยางค์เดียวจึงไม่พอใช้ในภาษาไทย จึงต้องมีการยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ แล้วยังมีการสร้างคำใหม่ๆ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประสมคำ การซ้อนคำ การซ้ำคำ การสมาส เป็นต้น


การเรียงลำดับคำในประโยค ภาษาไทยถือว่าการเรียงคำในประโยคมีความสำคัญมาก ถ้าเรียงคำผิดที่ความหมายของประโยคจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะตำแหน่งของคำจะเป็นตัวระบุว่าคำนั้นมีหน้าที่และมีความหมายอย่างไร เช่น
คนไม่รักดี ไม่รักคนดี

พี่สาวให้เงินน้องใช้ น้องสาวให้เงินพี่ใช้


คำขยายในภาษาไทยจะเรียงหลังคำที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่คำที่แสดงจำนวนหรือปริมาณ จะวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังคำขยายก็ได้ เช่น
เขาเดิน เร็ว (คำขยายอยู่หลังคำถูกขยาย)

เขาสวมเสื้อ สีฟ้า (คำขยายอยู่หลังคำถูกขยาย)

มากหมอก็ มากความ (คำบอกปริมาณอยู่หน้าคำที่ขยาย)

เขามาคน เดียว (คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ขยาย)











คำไทยมีคำลักษณนาม ซึ่งเป็นคำนามที่บอกลักษณะของนามข้างหน้า ซึ่งคำลักษณนามมีหลายชนิด ได้แก่ ลักษณะนามบอกชนิด เช่น ขลุ่ย 2 เลา ลักษณนามบอกอาการ เช่น บุหรี่ 3 มวน ลักษณะนามบอกหมวดหมู่ เช่น ทหาร 5 หมวด


ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและมีจังหวะในการพูด หากแบ่งวรรคตอนไม่ถูกต้องความหมายจะไม่ชัดเจน หรือมีความหมายเปลี่ยนไป เช่น
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายความว่า นิ่งเสียดีกว่าพูด

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง เสียตำลึงทอง หมายความว่า ยิ่งนิ่งยิ่งเสียมาก



ภาษาไทยเป็นคำที่มีการใช้คำเหมาะสมกับบุคคลและโอกาส ลักษณะภาษาไทยในลักษณะนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษา และเป็นศิลปะของการใช้ภาษาโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมการใช้ภาษาที่เรียกว่า “ คำราชาศัพท์”


แสดงเพิ่มเติม










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น